คุยกับ Mong Tong สองพี่น้องนักทดลองผู้รวบรวมซาวด์พิศดารจากทั่วเอเชีย ไว้ในอัลบั้มใหม่ ‘Tao Fire’

by McKee
818 views
Mong Tong Tao Fire Taiwan Beats Interview

หลังจากแนะนำให้ทุกคนรู้จักพวกเขาไปแล้วในบทความ รู้จัก Mong Tong ดูโอ้ไซเคเดลิกจากไต้หวัน ที่หยิบจับเรื่องราวลี้ลับมาสร้างซาวด์ทดลองอันน่าพิศวง อีกหนึ่งม้ามืดที่โผล่มาเขย่าซีนดนตรีไต้หวันให้บ้าคลั่ง ด้วยซาวด์เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร และโชว์ที่น่าหวือหวา ขยับวงให้ไปสู่แถวหน้าที่พร้อมจะส่งต่อเสียงแห่งวัฒนธรรมไปทั่วโลก

ล่าสุดพวกเขากลับมาพร้อมอัลบั้มใหม่ในชื่ออันเร้าร้อนว่า ‘Tao Fire’ พร้อมผ้าโผกตาสีดำสนิทชวนสะพรึง พร้อมต่อสายหา The COSMOS เกี่ยวกับอัลบั้มใหม่ของพวกเขา และเซอร์ไพรส์ว่าคนไทยอาจจะได้รู้จักเขามากขึ้นเร็ว ๆ นี้ เพราะพวกเขากำลังมีงานคอลแลบกับศิลปินไทย!

Mong Tong

ชื่อวงมีความหมายว่ายังไง แล้วทั้งสองมาตั้งวงกันได้ยังไง

พวกเราเป็นพี่น้องแท้ ๆ ที่เล่นดนตรีด้วยกันมานาน ส่วนที่มาของชื่อ คือสมัยเด็ก ๆ มีเกมที่เราเล่นด้วยกันบ่อย ๆ เรียกว่า 1 2 3 木頭人 (1, 2, 3, woodman) คล้ายเกมแรกในซีรีส์เกาหลี Squid Game พวกเราพี่น้องเรียกเกมนี้ว่าเกมปิดตา 矇瞳 (cover your vision) ซึ่งออกเสียงว่า “ม๊งท่ง” ในภาษาจีนแมนดาริน

เพลงของพวกคุณมีเอกลักษณ์สุด ๆ เล่าให้เราฟังหน่อยว่าพวกคุณพบซาวด์เหล่านี้ และหาวิธีสื่อสารออกมาเป็นดนตรีในแบบของคุณได้ยังไง

ไม่ว่าจะใช้วัตถุดิบหรือเครื่องดนตรีชิ้นไหนเราให้เวลากับมันมากพอทั้งการเลือกและทดลอง ไม่ใช่ทุกไอเดียจะนำมาใช้ได้จริง แต่ทุกครั้งที่มีไอเดียเจ๋ง ๆ ผมจะอัดเก็บไว้ และรอเวลาที่เหมาะสมที่จะใช้มัน

แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือทำงานที่ออกมาจากข้างในจริง ๆ งานที่ซื่อสัตย์กับคนฟัง อย่าคิดว่าแซมเปิลก็เป็นแค่แซมเปิลธรรมดา ๆ ทุกเสียงในช่วงชีวิตของเรา เช่นเสียงตู้ป๊อปคอร์นตามถนนก็เอามาใช้ในเพลงได้เหมือนกัน

ผ้าปิดตาสีแดงที่คุณใส่ไว้ตลอดเวลา มีความหมายอะไรซ่อนอยู่รึเปล่า

เราได้ไอเดียนี้มาจากพิธีกรรม Guan Luo Yin ที่เป็นความเชื่อของคนไต้หวันว่า เมื่อผูกผ้าแดงแล้วพลังงานบางอย่างจะนำเราลงไปสู่นรกและเฝ้ามองดวงวิญญาณของคนที่เรารัก แต่เราเริ่มใช้ผ้าสีดำในอัลบั้มใหม่

เพลงของคุณมักได้แรงบันดาลใจมาจากศาสนาและตำนานพื้นบ้าน มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับวง และนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ในเพลงของวงยังไงบ้าง

ถ้าจะพูดให้ถูก เราเองก็ได้รับอิทธิพลจากทุกศาสนาและวัฒนธรรมในแถบเอเชีย เราอยากใช้มุมมองต่อการเป็นคนเอเชียในการสร้างสรรค์ดนตรีของเราและส่งต่อให้โลกได้ลองฟัง สำหรับเพลงแล้ว เราถูกจดจำในฐานะโปรดิวเซอร์และศิลปินอิเล็กทรอนิกมากกว่า แต่เราอยากทำให้เพลงของเราล้ำสมัยมากขึ้น

บางครั้งเพลงของคุณก็ทำให้รู้สึกกลัว วงตั้งใจไว้แบบนั้นอยู่แล้วรึเปล่า

จริง ๆ ก็ไม่นะ การร่วมพิธีศาสนาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของชาวไตหวันมาตลอด แค่เพลงของเราหยิบองค์ประกอบตรงนั้นมาใช้ สำหรับใครหลายคนอาจมองว่าเรื่องลึกลับเหล่านี้ดูน่าสะพรึงกลัว แต่มันเป็นแค่วัฒนธรรมสำหรับเราเท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น พิธีกรรมทางศาสนาหลาย ๆ แบบในประเทศไทยก็น่ากลัวสำหรับพวกเราเหมือนกัน แต่สำหรับพวกคุณอาจไม่ได้รู้สึกแบบนั้น

จากเพลง intro อย่าง Mystery Death ที่ฉายให้เห็นแนวทางใหม่ของวง และตามด้วย Tropic Sub ก็เพื่อเน้นการเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ชัดเจนขึ้นด้วยรึเปล่า

จริง ๆ แล้ว ศิลปินไต้หวันหลายวงก็สร้างดนตรีเกี่ยวกับวัฒนธรรมของตัวเอง ก็คงถึงเวลาที่พวกเราจะพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ ๆ เหมือนกัน มันคงเจ๋งมาก ๆ ถ้าอัลบั้มที่รวบรวมความเป็นเอเชียอัลบั้มนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลกและทำให้คนรู้สึกวัฒนธรรมในบ้านเรามากขึ้น

มีเครื่องดนตรีเอเชียอะไรบ้างที่ใช้ในอัลบั้มนี้

กาเมลันเซ็ตเครื่องดนตรีพื้นบ้านจากอินโดนีเซีย (คล้ายวงดนตรีไทยดั่งเดิม) พิณของไทย ทาบลากลองอินเดียและอีกหลายชิ้น โดยเฉพาะพิณไทยที่เราสั่งมาจาก ebay มีเสียงที่ไพเราะมาก และรูปร่างก็สวยงาม บางโชว์เราก็หยิบมาใช้บ้างเหมือนกัน

เล่าเรื่องเกี่ยวกับอัลบั้มใหม่ ‘Tao Fire’ และปกอัลบั้มให้ฟังหน่อย

ชื่อ “Tao Fire 道火” ผุดขึ้นมาหลังจากทำอัลบั้มแรก Mystery 秘神 เสร็จเรียบร้อย เพื่อเป็นเกียรติให้กับ Oscar Young ศิลปินอิเล็กทรอนิกไต้หวันผู้ลึกลับ ส่วนหน้าปกนี่ เจียนไค่ เป็นคนถ่ายไว้ในงาน Chiayi Dashiye Festival พิธีชุมนุมผีประจำเดือนชื่อดังในประเทศไต้หวัน ซึ่งหลาย ๆ ที่ในเอเชียก็คงจะได้เห็นภาพนี้กันจนชินตา

ถ้าให้แนะนำ 3 เพลงในอัลบั้มนี้ ทำที่ให้เรารู้จักกับ Mong Tong มากขึ้น จะเลือกเพลงไหน

Areca, Naihe Bridge, Ghost Island สามเพลงนี้คือเพลงโปรดของพวกเราด้วย และอยากให้ทุกคนสัมผัสตัวตนของ Mong Tong ในเพลงเหล่านี้

เล่าให้ฟังหน่อยว่า เพลงไหนในอัลบั้มนี้ที่ท้าทายที่สุดสำหรับทั้งสองคน

ก็คงเป็นเพลง Areca เพลงนี้ใช้เวลาทำงานกับมันงานที่สุดแล้ว และมันยากมากที่จะทำให้คนฟังรู้สึกเหมือนได้เดินทางออกไปในหลาย ๆ ประเทศ พวกเราเลยเรียบเรียงให้เพลงนี้มีสี่ส่วน ทั้ง 3/3 4/3 5/3 จังหวะ และในแต่ละส่วนก็สื่อสารด้วยดนตรีที่ต่างวัฒนธรรมกัน หวังว่าพวกคุณจะได้ยิน

ฟีดแบ็กที่เราได้จากคนฟังในประเทศที่ทำให้วงเซอร์ไพรส์ที่สุด

มีชาวไต้หวันบางคนชอบเพลง Naihe Bridge เพราะรู้สึกคุ้นเคยกับซาวด์อย่างประหลาด คล้ายกับเพลงพื้นบ้านที่เคยได้ยินมาก่อน มันคือฟีดแบ็กที่ดีมากสำหรับวง เพราะจริง ๆ มันคือเพลงจากงานศพ ซึ่งไม่ใช่เพลงที่ทุกคนจะเคยได้ยินกัน

จาก Hanoi ถึง Ghost Island ซาวด์ที่ใช้ในอัลบั้มนี้ ดูจะมีเอกลักษณ์ในการถ่ายทอดบรรยากาศของภูมิศาสตร์ผ่านเสียงและคำ พวกคุณมีแพลนจะทัวร์ในเอเชียบ้างมั้ย

น่าเสียดาย ที่เรามีทัวร์แค่ญี่ปุ่นกับจีนในปีนี้ แต่เราพวกเราอยากไปทัวร์ที่ประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนามจริง ๆ ปีหน้าเราหวังว่าจะได้ทัวร์ใน SEA

พวกคุณจะมาไทยเร็ว ๆ นี้ใช่มั้ย

แน่นอน! ตอนนี้เราเองก็กำลังมีงานคอลแลบกับศิลปินไทยด้วย เพราะยังไงเจอกันเร็ว ๆ นี้

อยากฝากอะไรถึงคนที่เพิ่งรู้จักทั้งสองคน

สวัสดีครับ พวกเรา Mong Tong ถ้าพวกคุณชอบเพลงของเรา อย่าลืมแนะนำวงไทยให้พวกเราฟังบ้างนะ


ติดตามความเคลื่อนไหวและเพลงใหม่ ๆ ของ Mong Tong ได้ที่ Facebook และ Instagram

Mong Tong
+ posts

ชอบไปคอนเสิร์ตเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียวได้ และยังชอบแนะนำวงดนตรีใหม่ ๆ ผ่านตัวอักษรตลอดเวลา

Related Articles

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More

Privacy & Cookies Policy